บทที่ 2 ประเภทและอันตราที่อับอากาศ

บทที่ 2 ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ

ความหมายของที่อับอากาศ

          จากบทความบทที่ 1 หลาย ๆ ท่านก็คงจะพอทราบเกี่ยวกับที่อับอากาศกันมาแล้ว แต่ถ้าใครยังไม่ได้อ่าน ความหมายของที่อับอากาศ กลับไปติดตามอ่านกันได้ที่ บทที่ 1 กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ แต่ถ้าจะให้สรุปแบบเข้าใจง่าย ๆ ในสองบรรทัด ที่อับอากาศหมายถึงที่ ๆ เข้าก็ลำบาก ออกก็ลำบาก ถ้าจะเข้าไปช่วยก็ลำบาก หายใจยากและเสี่ยงที่จะพบกับอันตรายจากสารเคมีหรือขาดอากาศหายใจ ทำให้เราไม่อยากเข้าไปทำงานทุก ๆ วัน เช่น หลุม บ่อ ท่อ ถัง ไซโล หรืออื่น ๆ ที่ทำให้เรารู้สึกแบบข้างต้น นั่นล่ะครับ ที่อับอากาศ

แล้วอันตรายจากงานในที่อับอากาศ มีอะไรบ้าง ?

          คำถามนี้ยังคงเป็นคำถามที่สำคัญเสมอ หากว่าเรามีความจำเป็นต้องเข้าไปทำงานในที่อับอากาศลักษณะดังกล่าว เราจำเป็นต้องทราบก่อนว่าอันตรายในที่อับอากาศมีอะไรบ้าง

          อันดับหนึ่งเลยคือ “ออกซิเจนไม่เพียงพอ” มนุษย์เราจะหายใจเพื่อนำอากาศเข้าไปยังปอด และทำการฟอกเอาเฉพาะออกซิเจนไปใช้งาน ออกซิเจนจะถูกส่งไปกับกระแสเลือดเข้าสู่หัวใจเพื่อส่งต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสมอง เมื่อใดก็ตามที่สมองขาดออกซิเจนหรือออกซิเจนไม่เพียงพอจะมีอาการง่วง มึนงง ปวดศรีษะ หรือแย่กว่านั้นคืออาการ หมดสติ ร่างกายของเราจะหยุดการทำงาน และสมองไม่สามารถขาดออกซิเจนได้เกินกว่า 4 นาที หากนานกว่านี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

          โดยปกติแล้ว ออกซิเจนจะมีอยู่ประมาณ 21% จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อปริมาณออกซิเจนต้องอยู่ระหว่าง19.5- 23.5% มากหรือน้อยกว่านี้จะทำให้เป็นอันตรายอย่างยิ่ง จะรู้ได้อย่างไรว่า มากกว่า น้อยกว่า ต่ำเกินไป การจะทำงานในที่อับอากาศได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเครื่องตรวจวัดอากาศ หรือ Gas detector

*ถ้าออกซิเจนลดต่ำลงมาถึง 16จะเริ่มมึนงง ปวดศรีษะ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

 

          อันดับที่สองคือ “บรรยากาศที่ไวไฟ” นอกจากจะสามารถทำให้เกิดการระเบิดหรือเพลิงไหม้ได้ในที่อับอากาศแล้ว ยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินถึงขั้นรุนแรงโดยบรรยากาศที่ไวไฟนั้นจะมีอยู่ 2 แบบ

          1. ก๊าซ ไอ ละออง ที่ติดไฟได้หรือระเบิดได้ เกินร้อยละ 10 (LEL > 10%)

          2. ฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมากกว่าหรือเท่ากับค่าความเข้มข้นที่อาจติดไฟได้แต่ละชนิด

แน่นอนว่าทั้งสองอย่างที่กล่าวไป ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือแม้กระทั้งสารไวไฟบางชนิดไม่มีทั้งสีและไม่มีกลิ่น เราต้องไปพึ่ง เครื่องตรวจวัดอากาศ หรือ Gas detector

*5% เผื่อไว้สำหรับเครื่องวัดก๊าซที่อาจผิดพลาดได้

          อันดับสาม “อันตรายจากภาวะอากาศที่มีพิษ” ยกตัวอย่าง เช่น ฝุ่น ละออง ฟูมโลหะ หรือ ก๊าซพิษ ปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศที่ผู้ปฏิบัติงานหายใจ ก๊าซพิษเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง 1.) ระบบทางเดินหายใจ 2.) ผิวหนัง 3.) ระบบทางเดินอาหาร

          โดยปกติแล้วร่างกายจะมีกลไกการป้องกันตามธรรมชาติ เช่น ขนจมูก จะเป็นปราการด่านแรกที่ใช้ในการป้องกันระบบทางเดินหายใจ โดยเป็นตัวดักจับอนุภาคฝุ่น ขนอ่อน เป็นขนละเอียดที่อยู่ในท่อทางเดินหายใจทำหน้าที่ดักจับอนุภาคที่มีขนาดเล็ก ชั้นเยื่อเมือก มีอยู่ทั่วทั้งท่อทางเดินหายใจ อนุภาคที่ผ่านขนจมูกเข้ามาจะถูกดักจับในชั้นเยื่อเมือก และขับออกโดยระบบทางเดินหายใจโดยการกลืน การไอและจาม เป็นกลไกที่ช่วยในการขับเมือก และสิ่งแปลกปลอดที่เข้าสู่ร่างกาย โดยเกิดขึ้นในระบบทางเดินหายใจออกภายนอกร่างกาย

          อันดับที่สาม “อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ” คือ อันตรายที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ซึ่งอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยจากการทำงานได้ เช่น

  • เสียง
    • ต้องไม่ดังมากจนเกินไป ตามที่กฎหมายกำหนดไว้คือ 85 เดซิเบล ทำงานได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง หากเกินกว่านี้ต้องมีอุปกรณ์ PPE เพื่อลดเสียงจากการทำงานหรือสถานที่ทำงาน
  • แสง
    • แสงที่จ้ามากเกินไปต้องสวมใส่แว่นตานิรภัยแบบลดแสง หรือน้อยจนเกินไปก็ต้องจัดให้มีแสงสว่างที่เพียงพอต่อการทำงาน
  • ความร้อน
    • หากความร้อนในร่างกายมีการสะสมมากจนเกินไป อาจส่งผลให้เกิดภาวะลมแดด ลมแดดไม่ต้องตากแดดก็เป็นได้หากความร้อนสะสมในร่างกายมากเกินไป ต้องจัดให้มีการลดอุณหภูมิลง
  • ไฟฟ้า
    • ไฟฟ้าเป็นอันตรายเงียบที่เกิดได้ระหว่างทำงาน จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบอุปกรณ์ ติดตั้งสายดิน กำหนดระดับแรงดันไฟฟ้าที่สามารถให้ใช้งานได้
  • รังสี
    • ต้องจัดให้มีการกำหนดระยะเวลาการทำงานกับรังสี เก็บบันทึกการสัมผัสรังสีต้องไม่เกินตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงความปลอดภัยทางรังสีและตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังประมาณรังสีในร่างกายไม่ให้เกินกำหนด
  • แรงสั่นสะเทือน
    • การทำงานกับแรงสั่นสะเทือนที่มากหรือนานเกินไป ส่งผลให้เส้นเลือดหดตัว เลือดไม่ไปเลี้ยงที่อวัยวะส่วนนั้น อาจใช้วัสดุดูดซับ หรือ กำหนดเวลาพักแทน

 

หรืออันตรายจากสภาวะอื่น ๆ

  • ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
  • จมน้ำ น้ำเข้าไปในหลอดลมและปวด
  • ดินพังทราย
  • ถูกกดหรือถูกกระแทก
Visitors: 87,185